เหรียญอธิการหล่องรุ่นแรก.หลวงพ่อเพชรวัดบ้านกรับ***กาญจนบุรี***1
สมัครลงประกาศพระเครื่อง ฟรี !!
รับถ่ายรูปพระเครื่อง
ติดต่อสอบถาม 087-613-1076 คุณพิษณุ
|
เหรียญอธิการหล่องรุ่นแรก.หลวงพ่อเพชรวัดบ้านกรับ***กาญจนบุรี***1
รหัสพระเครื่อง : 806
ราคา โทรสอบถาม -.
โหวดจากผู้เยี่ยมชม (คุณชอบ หรือ ไม่ชอบ)
71%
29%
ชอบ 71%
ไม่ชอบ 29%
จากความน่าเชื่อถือ : 14 ครั้ง
เบอร์ติดต่อ 0861656819 ติดต่อ คุณไพรัช(ยุ่ง)
รายละเอียด |
วัดบ้านกรับเป็นวัดเก่าแก่โบราณสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดกาญจนบุรี ที่อำเภอพนมทวน ต.ดอนแสลบ ในสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี วัดบ้านกรับนี้เดิมชื่อว่าวัดบ่อไผ่ จากการสำรวจดูโบราณสถานภายในวัด มีอุโบสถหลังเก่าสร้างจากประติมากรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาอย่างเด่นชัด และที่ตำบลดอนแสลบอยู่ในละแวกใกล้วัดบ่อไผ่นี้ยังมีโบราณสถานอีกหลายแห่งที่เป็นวัดร้าง อย่างเช่นวัดสระกระเบื้อง วัดสระโรงเรือ และมีเนินเจดีย์ร้างที่ไม่สามารถทราบชื่ออีกหลายแห่ง ล้วนแล้วแต่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ต่อมาในสมัยแผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2303 พม่าได้ยกทัพเข้ามาทางเจดีย์สามองค์ ได้บุกเผาบ้านเรือน แล้วก็ยกทัพผ่านมาทางอำเภอพนมทวน พม่าได้เผาบ้านช่องคนไทยมากมาย เป็นเหตุให้ชาวบ้านตำบลดอนแสลบและละแวกใกล้เคียงต่างหนีพม่าทิ้งถิ่นฐานที่อยู่ไปวัดบ่อไผ่จึงเป็นวัดร้างไปช่วงหนึ่งนานพอสมควร ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้แตกเสียแก่พม่า และต่อมาพระเจ้าตากสินได้กอบกู้อิสรภาพกลับคืนมาได้ในสมัยกรุงธนบุรีเมื่อสงครามสงบลง ชาวบ้านและผู้คนที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่แถววัดบ่อไผ่ ต่างก็ได้เดินทางกลับมาอยู่ถิ่นฐานเดิม ต่างได้พร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อวัด เป็นชื่อวัดบ้านกรับ คำว่าวัดบ้านกรับคงจะมีความหมายมาจากคำว่ากลับบ้าน หรือกลับคืนถิ่นกำเนิดนั่นเอง วัดบ้ารกรับมีเนื้อที่ 48 ไร่ ได้มีเจ้าอาวาสปกครองวัดสืบต่อ ๆ กันมาหลายสิบรูปด้วยกัน แต่ไม่สามารถนำมากล่าวได้หมด เท่าที่ทราบวัดนี้มาเริ่มรุ่งเรืองในสมัยหลวงพ่อบ่ายซึ่งก็เป็นศิษย์เอกสืบทอดวิทยาคมจากหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ จังหวัดกาญจนบุรี ได้พัฒนาวัดบ้านกรับหลังจากหลวงพ่อบ่ายได้มรณภาพลง หลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป ก็ได้เป็นเจ้าอาวาสสืบต่อมา หลังจากนั้นชาวบ้าน ต.ดอนแสลบ และเจ้าอาวาสปกครองวัดสืบต่อ หลังจากนั้น ชาวบ้าน ต.ดอนแสลบ และเจ้าคณะตำบลดอนแสลบได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อเพชร ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์ ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ สืบต่อมาจนกระทั่งทุกวันนี้ ปัจจุบันนี้ วัดบ้านกรับการคมนาคมจะเดินทางไปวัดบ้านกรับสะดวกมาก เป็นถนนลาดยางถึงหน้าวัด ถ้าท่านเดินทางมาจากกรุงเทพฯ มาทางสายนครปฐม สุพรรณบุรี พอถึงตลาดทุ่งคอก วิ่งต่อไปอีกประมาณ 8 ก.ม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าตลาดเขต เมื่อท่านถึงตลาดเขตแล้วสอบถามดู ใคร ๆ ก็รู้จักวัดบ้านกรับ แล้วท่านจะได้พบกับท่านพระครูจันทสโรภาส หรือหลวงพ่อเพชร จนฺทวโส ก่อนจะเข้าถึงวัด เชิญท่านลองสอบถามชาวบ้านละแวกนั้นดูให้ทั่วหน้าแล้วท่านจะทราบว่า ท่านมีวัยวุฒิและคุณวุฒิ และปฏิปทาน่าเลื่อมใสเพียงใด ซึ่งเป็นหมู่บ้านใหญ่ เล่าว่าท่านสามารถเดินหายเข้าไปในห้องที่ปิดประตูใส่กุญแจไว้ได้โดยไม่ต้องไขกุญแจท่านอายุ 87 ปี พรรษาที่ 67 บวชตั้งแต่เป็นเณร บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ตั้งแต่ท่านถูกนิมนต์มาปกครองวัดบ้านกรับ ท่านพัฒนาบูรณะวัดให้เจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว สร้างศาลา สร้างกุฏิ และอุโบสถขึ้นใหม่แทนอุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก และได้สร้างศาลาเมรุควบคู่กันไป จึงขอเชิญชวนท่านพุทธศาสนิกชนทั้งหลายมาร่วมทำบุญกับท่าน ท่านจะได้มหากุศล
ท่านพระครูจันทสโรภาส (หลวงพ่อเพชร จนทวโส ) ปัจจุบันอายุ 85 ปี พรรษาที่ 65 เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ต.ดอนแสลบ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ท่านเกิดในปี พ.ศ. 2450 ณ ที่บ้านหนองส้ม ต.หนองส้ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เดิมท่าน ชื่อหร่อง โยมพ่อท่านชื่อนายเทียน ฤกษ์งาม โยมแม่ชื่อทองพูล ฤกษ์งาม ท่านเป็นบุตรคนที่ 7 ในจำนวนพี่น้อง 7 คนด้วยกันคือ
1. นายทูป ฤกษ์งาม
2. นายอาจ ฤกษ์งาม
3. นายเอก ฤกษ์งาม
4. นางง่วน ฤกษ์งาม
5. นางเสย ฤกษ์งาม
6. นางสอย ฤกษ์งาม
7. หลวงพ่อเพชร
หลวงพ่อหร่องอุปสมบทเมื่อ พ.ศ. 2470 ณ วัดหนองส้ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี โดยมีหลวงปู่อ่อนวัดท้ายตลาด เป็นพระอุปัชฌาย์หลวงพ่อจัน วัดหนองส้ม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดหนองส้ม ได้ศึกษาพระธรรมวินัย และนักธรรมจนได้รับสมณศักดิ์เป็นชั้นพระครูจากนั้นได้ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน จากหลวงปู่อ่อนและแลวงพ่อจัน ได้ทำความเพียรจนสำเร็จแตกฉานเป็นอย่างดี ต่อจากนั้นหลวงพ่อหร่องก็ได้เดินทางไปจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านขู่ ถวายตนเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อน้อย วัดบ้านขู่ ขอเรียนไสยเวทด้านเมตตามหานิยมจากหลวงพ่อน้อย ได้อยู่ที่วัดบ้านขู่นี้ 5 พรรษา แล้วก็ได้ลาหลวงพ่อน้อยเดินทางไปยังวัดเขาบันไดอิฐ ขอศึกษาวิชาไสยเวท คาถาอาคมต่าง ๆ จากท่านพระครูญาณวิลาด (หลวงพ่อแดง) ในระหว่างนั้นหลวงพ่อแดงเพิ่มมีอายุเพียง 73 ปี หลวงพ่อหร่อง (หลวงพ่อเพชร) ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้รับการถ่ายทอดวิชากรรมฐานและเวทมนตร์ต่าง ๆ จนจบสิ้น จากนั้นหลวงพ่อหร่องก็ได้ไปฝากตัวเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแก้ว วัดหัวนา ต.หนองโปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรีได้ศึกษาเรียนวิชาเป่าใบไม้ และไสยเวทวิสุทธิจากหลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อแก้วยังให้คติไว้ว่า สิงโตน้ำตาลทราย กัดที่ไนหวานตรงนั้น ต่อจากนั้น หลวงพ่อหร่องก็ได้ออกเดินธุดงค์เข้าป่าเมืองกาญจนบุรี เข้าอุ้มผาง จ.ตาก เข้าดงพญาเย็น แล้วย้อนกลับมาทางอำเภอพนมทวน ได้เป็นที่รู้จักของชาวบ้านห้วยกระเจาและดอนแสลบอย่างมาก ชาวบ้านเลื่อมใสศรัทธาองค์พระภิกษุหร่องมาก ซึ่งขณะนั้นท่านยังเป็นพระลูกวัดอยู่ เมื่อกลับจากเดินธุดงค์แล้ว ได้เข้าพบ หลวงพ่อน้อยวัดขู่ และได้ลาพระอาจารย์ไปจำพรรษา ที่วัดโพธิ์ ต.บางเค็ม อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เข้าฝากตัวเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อปู่ชื่น ปาสโส หรือท่านพระครูประสาทนวกิจ หลวงปู่ชื่นเป็นพระเกจิอาจารย์อาวุโส มีวิชาคาถาอาคมจอมขมังเวทอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อหร่องได้จำพรรษาอยู่ที่วัดโพธิ์เป็นเวลานานหลายพรรษา ได้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน และฝึกฝนเวทมนตร์อยู่ตลอดมา และได้พบกับท่านเจ้าคุณพระวิสุทธิรังสี (หลวงพ่อเปลี่ยนอินทสโร) วัดชัยชุมพลชนะสงคราม (วัดใต้ )จ.กาญจนบุรี ซึ่งหลวงพ่อเปลี่ยน เป็นเพื่อนชอบพอกับหลวงปู่ชื่นมากได้ไปมาหาสู่กันเป็นประจำและหลวงพ่อเปลี่ยนได้มาช่วยหลวงปู่ชื่นบูรณะวัดโพธิ์ และสร้างศาลาการเปรียญ หลวงพ่อ หร่องก็ได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อเปลี่ยนและขอศึกษาวิชาทำตระกรุด บรรจุพุทธคุณลงในโลหะจนจบสิ้น ต่อมาทางวัดบ้านกรับ ต.ดอนแสลบ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี
หลวงพ่อจวน ปัญญาธีโป เจ้าอาวาสวัดบ้านกรับ ได้มรณภาพลง ทางวัดขาดผู้นำที่จะเป็นเจ้าอาวาส ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านดอนแสลบที่มีมาแต่เมื่อครั้งหลวงพ่อหร่องได้ธุดงค์มาโปรดชาวบ้านแถบนั้น ชาวบ้านจึงได้พร้อมใจกัน มีความต้องการให้พระภิกษุหร่องมาเป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านกรับ จึงได้นำเรื่องเข้าปรึกษาแจ้งความต้องการของชาวบ้านให้ท่านพระครูประดิษฐ์ หลวงพ่อทา วัดห้วยกระเจา เจ้าคณะตำบลทราบ หลวงพ่อทาจึงได้เดินทางไปนิมนต์หลวงพ่อหร่อง ที่วัดโพธิ์ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับสืบต่อไป เมื่อหลวงพ่อหร่องมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกรับท่านยังได้พบตำราสืบทอดวิชาคาถาอาคม ที่เขียนด้วยใบลาน ซึ่งตกทอดมาจากหลวงพ่อบ่าย ได้เก็บไว้ที่วัดบ้านกรับนี้ ตำราวิชาอาคมเหล่านี้ส่วนใหญ่หลวงพ่อบ่ายได้รับสืบทอดมาจาเกจิอาจารย์ต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงของหลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ก็มีอยู่เช่นกัน ทำให้หลวงพ่อหร่องได้รับตำรับตำราอาคมมากมายด้วยอาคมขลังของหลวงพ่อหร่องทำให้ชาวบ้านเรียกกล่าวต่อกันว่าหลวงพ่อที่มาจากเพชรน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อองค์ที่มาจากเพชรเจิมรถเก่ง จนชาวบ้านเรียกติดปากว่า หลวงพ่อเพชรจนทุกวันทั้งจังหวัดกาญจนบุรีก็เรียกหลวงพ่อเพชร ท่านเลยเปลี่ยนชื่อว่าหลวงพ่อเพชรมา สำหรับหลวงพ่อเพชร จนทวโส ท่านเป็นเจ้าคณะตำบลดอนแสลบ และเป็นพระอุปัชฌาย์ ศีลาจารวัตรบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เป็นที่ยอมรับนับถือ ทั้งจังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดใกล้เคียงท่านอาวุโสที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรีท่านเปรียบเสมือนเพชรเม็ดงามที่สาธุชนทั้งหลายน่าเคารพนับถือ
ข้อมูลอ้างอิงหนังสือพระเครื่อง..พระเกจิ ปี 2539 |
ร้านเช่าพระ : บารมีหลวงพ่อเพชร
ชื่อพระ : เหรียญอธิการหล่องรุ่นแรก.หลวงพ่อเพชรวัดบ้านกรับ***กาญจนบุรี***1
ประเภทพระ : เนื้อทองแดง
ประเภทการขาย : พระมาใหม่
เมื่อวันที่ : 2013-01-28 21:06:00
จำนวนเข้าชม : 9394 ครั้ง
ที่อยู่สำหรับติดต่อ
ชื่อผู้ประกาศ : ไพรัช(ยุ่ง) หอมทวนลม
E-mail : phairach2515@hotmail.com
โทร : 0861656819
ที่อยู่ : 113 ต. ดอนแสลบ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี 71170
เว็บไซต์ประกาศปล่อยเช่า พระเครื่อง
แสดงความคิดเห็นต่อพระเครื่อง
|
เหรียญอธิการหล่องรุ่นแรก.หลวงพ่อเพชรวัดบ้านกรับ***กาญจนบุรี***1 |
|